
08/05/2025
🇯🇵🇹🇭สรุปข่าว “ราคาสองมาตรฐานในแหล่งท่องเที่ยวไทย” ในข่าวญี่ปุ่น ที่นำเสนอโดยนักข่าวญี่ปุ่น
1
ประเทศไทยมีการใช้ระบบ “ราคาสองมาตรฐาน” ในสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง
2
ราคาคนไทยมักจะฟรีหรือถูกกว่าต่างชาติอย่างชัดเจน
3
ตัวอย่างเช่น พระบรมมหาราชวัง คนไทยเข้าฟรี ต่างชาติต้องจ่าย 500 บาท (ประมาณ 2,000 เยน)
4
นักท่องเที่ยวจากหลายประเทศมีความคิดเห็นหลากหลายต่อระบบนี้
5
ชาวอินเดียบอกว่าราคาถือว่าเหมาะสมหากนำไปพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
6
ชาวเยอรมันกล่าวว่าหากทราบราคาก่อน ก็สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะจ่ายหรือไม่
7
ชาวดัตช์มองว่าเป็นสิทธิของคนในท้องถิ่น เช่นเดียวกับที่ยุโรปให้เข้าชมโบสถ์ฟรี
8
บางคนเห็นว่าหากไม่พอใจก็ไม่ควรเดินทาง
9
ระบบนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะวัดหรือพระราชวัง แต่ยังรวมถึงอุทยานแห่งชาติ
10
ราคาของแต่ละสถานที่อาจแตกต่างกันไปตามผู้บริหารจัดการ
11
ตัวอย่างเช่น สวนสัตว์ “ซาฟารีเวิลด์” มีราคาคนไทย 800 บาท ต่างชาติ 1,500 บาท
12
อย่างไรก็ตาม ต่างชาติที่มีใบอนุญาตทำงานในไทยสามารถจ่ายในราคาคนไทยได้
13
ระบบราคานี้ยังพบได้ในบริการอื่น เช่น รถสามล้อ “ตุ๊กตุ๊ก”
14
คนไทยนั่งตุ๊กตุ๊กไปไชน่าทาวน์ถูกเรียก 150 บาท
15
นักข่าวญี่ปุ่นโดนเรียก 300 บาทในระยะทางเดียวกัน
16
คนขับรถประเมินราคาจากรูปลักษณ์และภาษาที่ใช้
17
นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นบางคนเข้าใจและยินดีจ่าย เพราะเชื่อว่าช่วยเศรษฐกิจท้องถิ่น
18
เห็นว่าการเก็บเงินเพิ่มจากต่างชาติไม่ใช่เรื่องเลวร้าย หากส่งผลดีต่อสถานที่
19
เชื่อว่าคนที่พร้อมจ่ายจะจ่ายเองโดยไม่ต้องบังคับ
20
อย่างไรก็ตาม มีเสียงคัดค้านจากบางสื่อในไทย
21
มีคนเสนอว่าคนไทยก็ควรจ่ายบ้าง เพราะไทยมีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น
22
รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาเก็บ “ค่าธรรมเนียมเข้าประเทศ” จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ
23
ค่าธรรมเนียมนี้จะอยู่ที่ 300 บาท หรือประมาณ 1,200 เยน
24
มาตรการนี้มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา “นักท่องเที่ยวล้นเมือง” ในบางพื้นที่
25
นักข่าวญี่ปุ่นในไทยเผยว่าตนเคยรู้สึกว่าราคาแพง แต่ตอนนี้เริ่มชินแล้ว
26
เขาตั้งข้อสังเกตว่า สถานที่บางแห่งจงใจเขียนราคาคนไทยเป็นภาษาไทยเท่านั้น
27
ทำให้คนต่างชาติที่อ่านไม่ออกไม่รู้ว่ามีราคาสองมาตรฐาน
28
รายได้จากราคาสองมาตรฐานมักถูกนำไปใช้ในค่าบำรุงสถานที่และเงินเดือนพนักงาน
29
แต่การใช้เงินเหล่านี้มักไม่โปร่งใส และไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ
**
🇯🇵🇯🇵มุมมองนักวิชาการญี่ปุ่น
รองศาสตราจารย์ เรียว นิชิกาวะ คณะการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยริคเคียว
“ถ้าจะพูดให้ชัดเจน ผมคิดว่าควรระมัดระวังในการนำมาใช้ครับ ราคาสองมาตรฐานนี้เป็นระบบที่พบได้ในประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศเกิดใหม่เป็นหลัก การที่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างญี่ปุ่นนำระบบนี้มาใช้ อาจทำให้ญี่ปุ่นถูกมองว่าอยู่ในระดับเดียวกับประเทศเหล่านั้นก็เป็นได้”
นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์นิชิกาวะยังกล่าวว่า การแบ่งราคาจาก “สัญชาติ” แตกต่างจากระบบส่วนลดสำหรับพลเมืองท้องถิ่นหรือนักท่องเที่ยวในจังหวัดเดียวกันที่มีใช้ในญี่ปุ่นอยู่แล้ว เพราะอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ
รองศาสตราจารย์ เรียว นิชิกาวะ
“ในรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นมีการบัญญัติเรื่องความเสมอภาคเอาไว้ครับ และในรัฐสภาญี่ปุ่นก็มีการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นราคาสองมาตรฐานนี้เช่นกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงราคาสำหรับที่พักหรือระบบขนส่งสาธารณะโดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม ก็อาจถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติได้ ดังนั้น ผมคิดว่าควรมีการอภิปรายในบริบทของสังคมญี่ปุ่นอย่างรอบคอบก่อนครับ”
อ้างอิง:https://news.yahoo.co.jp/articles/eff94dc6076d1eb21b233d19126e1bb72ddb39c5?page=3