บ้านแมลงลำปาง

บ้านแมลงลำปาง บ้านแมลงลำปาง - Lampang Insect Home บ้านแมลงลำปาง Lampang Insect Home

21/06/2025

วัฏจักรชีวิตที่ไม่เหมือนใคร แมลงปอ สิ่งมีชีวิตที่เป็นดั่งเจ้าแห่งสองโลก พวกมันมีปีกบอบบางและสายตาที่คม...

วันที่ 20 พฤษภาคม 2568 ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ 1 (ลำปาง) ร่วมกับศูนย์คุ้มครองพันธุ์พืชป่าจังหวัดลำปาง จัดการอบรมก...
21/06/2025

วันที่ 20 พฤษภาคม 2568 ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ 1 (ลำปาง) ร่วมกับศูนย์คุ้มครองพันธุ์พืชป่าจังหวัดลำปาง จัดการอบรมการเพาะเห็ดเยื่อไผ่และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากดอกเห็ดเยื่อไผ่ แก่กลุ่มเกษตรกรจากตำบลบ้านหวดจำนวน 20 คน โดยผู้เข้ารับการอบรมได้รู้จักเห็ดเยื่อไผ่หรือเห็ดร่างแหและได้เรียนรู้การเพาะเห็ดจากเศษวัสดุจากไผ่ อินทรียวัตถุต่างๆ ช่วยลดการเผาไหม้เศษใบไม้และเศษวัสดุจากไผ่ รวมทั้งแนวทางการต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าของเห็ดเยื่อไผ่ต่อไป
ขอขอบคุณ อบต. บ้านหวดที่อนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์การฝึกอบรมครั้งนี้ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านด้วยค่ะ

21/06/2025

เริ่มจองกล้าสักกันได้แล้วนะคะ
สามารถติดต่อสอบถามได้ในวัน-เวลา ราชการค่ะ

๓ มิถุนายน วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี  ขอพระองค์ทรงพระเจริญด้วยเกล้าด้วยก...
03/06/2025

๓ มิถุนายน วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ 1 (ลำปาง)

คุณค่าของ  #ความหลากหลายทางชีวภาพ  #วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ #22พฤษภาคม
22/05/2025

คุณค่าของ #ความหลากหลายทางชีวภาพ
#วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
#22พฤษภาคม

22 พฤษภาคม "วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ"

วันที่ 22 พฤษภาคมของทุกปีตรงกับวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ (International Day for Biological Diversity) ตามประกาศขององค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 เพื่อรำลึกถึงวันที่อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CDB) ซึ่งได้เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 โดยวัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญานั้นมีไว้เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological Diversity หรือ Biodiversity) คือ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ตั้งแต่ในระดับพันธุกรรม สายพันธุ์ และระบบนิเวศ ซึ่งเป็นพื้นฐานของชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งความหลากหลายทางชีวภาพก็ได้เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนธรรมชาติให้ยั่งยืน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพที่ดีของมนุษย์ ดังนั้นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพจึงไม่ใช่เพียงการปกป้องสิ่งแวดล้อม แต่คือการปกป้องคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในระยะยาวอีกด้วย

สำหรับในปี พ.ศ. 2568 ทาง CDB ได้กำหนดธีมสำหรับวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ คือ "Harmony with nature and sustainable development" หรือ “ความกลมกลืนกับธรรมชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) และกรอบความหลากหลายทางชีวภาพโลกคุนหมิง-มอนทรีออล (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework - KMGBF) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานระดับโลกที่มีเป้าหมายในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพภายในปี 2030 อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ธรรมชาติกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นการเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนของสังคมร่วมมือกันในการสร้างโลกที่มนุษย์และธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

ที่มา: เว็บไซต์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CDB) www.cbd.int
#กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช #วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ #22พฤษภาคม

20 พฤษภาคม วันผึ้งโลก มีผึ้ง (และแมลงผสมเกสร) เราจึงมีอาหารกิน …
19/05/2025

20 พฤษภาคม วันผึ้งโลก
มีผึ้ง (และแมลงผสมเกสร) เราจึงมีอาหารกิน …

20 พฤษภาคม "วันผึ้งโลก"

วันที่ 20 พฤษภาคมของทุกปีตรงกับวันผึ้งโลก (World Bee Day) ถูกกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) เมื่อปี ค.ศ. 2017 ตามข้อเสนอของประเทศสโลวีเนีย เพื่อเป็นการให้เกียรติแด่อันตอน ยานชา (Anton Janša) ผู้บุกเบิกวิชาการเลี้ยงผึ้งยุคใหม่ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1734 การก่อตั้งวันผึ้งโลกมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งและแมลงผสมเกสรอื่น ๆ ต่อระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหารของโลก

ผึ้งมีบทบาทสำคัญต่อการผสมเกสรพืช ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิต โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตรทั้งผัก ผลไม้ และธัญพืช นอกจากประโยชน์ของผึ้งในเชิงเกษตรกรรมแล้ว ในแง่ของการอนุรักษ์ป่านั้นการผสมเกสรของผึ้งก็มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของพืชป่า เป็นจุดเริ่มต้นของการขยายพันธุ์พืชอีกด้วย แต่ในหลายปีที่ผ่านมากลับพบว่าจำนวนประชากรผึ้งทั่วโลกลดลงอย่างน่าตกใจ สาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ การใช้สารเคมีทางการเกษตร การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย และโรคระบาดในผึ้ง ส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และเศรษฐกิจของภาคการเกษตรอย่างกว้างขวาง

เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 มีรายงานการค้นพบ "ผึ้งหลวงหิมาลัย" (Apis laboriosa) ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก จ.เชียงใหม่ โดยความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อนหน้านี้ผึ้งชนิดนี้เคยพบเฉพาะในเทือกเขาหิมาลัยของเนปาล อินเดีย และบางส่วนของจีน เมียนมา และลาวเท่านั้น การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญของการอนุรักษ์ระบบนิเวศและเป็นตัวชี้วัดถึงความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย อีกทั้งเป็นเครื่องช่วยยืนยันถึงความสำคัญของผึ้งในระบบนิเวศด้วย

ดังนั้นการเฉลิมฉลองวันผึ้งโลกวันจึงเป็นโอกาสให้ทุกคนส่งเสริมการอนุรักษ์ผึ้ง ไม่ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของผึ้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตผืนป่าอนุรักษ์ ลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย และส่งเสริมวิธีทำการเกษตรแบบยั่งยืน เพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ของผึ้งและแมลงอื่น ๆ ที่ช่วยผสมเกสรให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป

ที่มา: สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช และเว็บไซต์ Government of Slovenia
#กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช #วันผึ้งโลก #20พฤษภาคม #ผึ้งหลวงหิมาลัย #สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช #จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มาปลูกต้นไม้กันเถอะ เพิ่มพื้นที่สีเขียวกันค่ะบ้านแมลงลำปาง จัดกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ 2568 (วันวิสาขบูชา ของท...
16/05/2025

มาปลูกต้นไม้กันเถอะ เพิ่มพื้นที่สีเขียวกันค่ะ
บ้านแมลงลำปาง จัดกิจกรรมวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ 2568 (วันวิสาขบูชา ของทุกปี หรือสามารถจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ได้ตลอดทั้งเดือนพฤษภาคม) ร่วมมือร่วมแรงปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของหน่วยงาน ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล ไม้ป่า ไม้ยืนต้น ฯลฯ
#เพิ่มพื้นที่สีเขยว
เพิ่ม #ความหลากหลายทางชีวภาพ

14/05/2025
14/05/2025

"พืชกินแมลง" (Insectivorous plants)🌱🐝🌿
แมลงอย่าบินมาใกล้…เดี๋ยวได้กลายเป็นอาหาร🪲

🌳

24/07/2024

🍄🍄🍄 #เห็ดพิษ (Poisonous Mushroom) 🍄🍄🍄
สามารถจำแนกเห็ดพิษได้ 14 ประเภท คือ
1. เห็ดพิษที่มี cyclopeptide เป็นส่วนประกอบ
2. เห็ดพิษที่มี gyromitrin เป็นส่วนประกอบ
3. เห็ดพิษที่มี muscarine เป็นส่วนประกอบ
4. เห็ดพิษที่มี coprine เป็นส่วนประกอบ
5. เห็ดพิษที่มี ibonic acid และ muscimol เป็นส่วนประกอบ
6. เห็ดพิษที่มี psilocybin เป็นส่วนประกอบ
7. เห็ดพิษที่มีสารพิษต่อระบบทางเดินอาหาร
8. เห็ดพิษที่มี orellanineและ orellinine เป็นส่วนประกอบ
9. เห็ดพิษที่มี allenic norleucine เป็นส่วนประกอบ
10. เห็ดพิษที่ทำให้กล้ามเนื้อลายสลาย
11. เห็ดพิษที่มี erythromelalgia acromelic acid เป็นส่วนประกอบ
12. เห็ดพิษที่มี polyporic acid และเห็ดพิษที่ทำให้เกิดโรคสมอง
13. เห็ดพิษที่ทำให้เกิด immune mediated hemolytic anemia
14. เห็ดพิษที่ทำให้เกิด lycoperdonosis

ขอบคุณเนื้อหาจาก
ธนพล นิ่มสมบูรณ์ และนันทนา นิ่มสมบูรณ์. 2564. เห็ดพิษ. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 31 (2):73-87.

ที่อยู่

Amphoe Ngao

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 15:30
อังคาร 08:30 - 15:30
พุธ 08:30 - 15:30
พฤหัสบดี 08:30 - 15:30
ศุกร์ 08:30 - 15:30
เสาร์ 09:00 - 15:00
อาทิตย์ 09:00 - 15:00

เบอร์โทรศัพท์

+66616546615

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ บ้านแมลงลำปางผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง บ้านแมลงลำปาง:

แชร์