24/07/2022
ประพาสหัวเมืองฝ่ายใต้
และน้ำตกธารเสด็จ ตำบลเกาะพงันสุราษฎร์ธานี
สยามนี้มีเรื่องเล่าตอนที่ 339
โดย.ดรสุวิจักขณ์ ภานุสรณ์ฐากูร
ก่อนที่จะไปถึงเรื่องราว อันเกี่ยวกับการเสด็จประพาสหัวเมืองทางฝ่ายใต้ ผมมีข้อมูลเกี่ยวกับน้ำตกธารเสด็จ ซึ่งเป็นน้ำตกที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมากที่สุด ถึง 14 ครั้ง
และโดยรูปภาพเมื่อครั้งที่แล้ว ซึ่งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 ครั้งที่พระองค์ทรงแช่พระวรกายอยู่ในวังน้ำตกนั้น เป็นที่มาของบทความในครั้งนี้ มาดูข้อมูลของน้ำตกกันก่อนครับ
เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเกาะพะงัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 25 กิโลเมตร ราษฎร์ชาวเกาะพะงันถือกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี เคยเสด็จประพาสหลายรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสน้ำตกธารเสด็จรวม 14 ครั้ง ปรากฏตามหลักฐาน พระปรมาภิไธยย่อ จปร.,วปร.,ปปร.และ ภปร
ที่ทรงจารึกไว้ที่ก้อนหินบริเวณใกล้ๆ น้ำตกธารเสด็จ และพลับพลาที่ทรงประทับซึ่งได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมจากกรมศิลปากรให้เห็นเป็นหลักฐาน
ชื่อโบราณสถาน น้ำตกธารเสด็จ ธารประพาศและธารประเวศ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สถานที่ตั้ง ตำบลบ้านใต้ อำเภอเกาะพงัน รายละเอียดโบราณสถาน น้ำตกธารเสด็จ ธารประพาศและธารประเวศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะพะงัน รวมทั งสิ น ๑๔ ครั ง
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๕๒ ทรงประทับแรมในเรือพระที่นั่งบริเวณเกาะพงันในการเสด็จประพาสเกาะพงัน
โปรดเกล้าฯ ให้จารึก พระปรมาภิไธยย่อ จปร. ตัวเลข และตัวอักษรต่าง ๆ ไว้ ๑๙ ครั ง จำนวน ๑๐ แห่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเสด็จน้ำตกในอำเภอเกาะพงัน มีปรากฏในแผนที่บอกแต่ว่า มี น้ำจืด ครั้งเสด็จไปทอดพระเนตรเห็นเป็นลำธารใหญ่ เป็นที่สนุกสนาน จึงพระราชทานนามว่า ธารเสด็จ เป็นที่โปรด เสด็จประพาสตลอดรัชกาล ในการเสด็จเกาะพะงัน ๑๔ ครั ง ปรากฏว่าเสด็จน้ำตกธารเสด็จถึง ๑๐ ครั้ง
โปรดฯ ให้ช่างสลักปีจุลศักราชที่เสด็จไว้ที่ชะง่อนหินทุกครั ง บริเวณน้ำตกมีพลับพลาที่ประทับ อาณาบริเวณเป็นป่าไม้
อุดมไปด้วยดอกไม้ป่าและกล้วยไม้นานาชนิด ชาวบ้านแถบนี ถือเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินีในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์ได้เคยเสด็จประพาส นอกจากธารเสด็จแล้ว ทรงเสด็จประพาส
น้ำตกอีก ๒ แห่ง คือ ธารประพาสและธารประเวศ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
๑) น้ำตกธารเสด็จ มีพลับพลาที่ประทับและจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จารึกอักษร และตัวเลข บนชะง่อน
หิน เป็นการแกาะ สลักลงไปในเนื้อหิน ดังนี้ พลับพลาที่ประทับ เป็นอาคารเครื่องไม้มุงกระเบื้องใต้ถุนสูง ปัจจุบัน
เหลือเพียงเสาไม้อาคาร จ้านวน ๒๘ เสา สูงจาก พื้นดินราว ๑ เมตร เนื่องจากชาวบ้านเลื่อยเสาไม้น้าเอาไปใช้จึงเหลือเพียงตอเสา
กระเบื้องมุงหลังคาดินเผาถูกรื้อนำไปวางกองเรียงกันไว้ ส่วนอื่นๆ ของอาคารที่เป็นไม้ถูกรื้อนำไปใช้ประโยชน์จนหมด
จารึกแกะสลักลงไปบนโขดหินธรรมชาติ ดังต่อไปนี้
ก) จารึกบนก้อนหินข้างพลับพลา
ที่ประทับมีอักษร จปร. ปี ๑๒๖๓ (จุลศักราช),รศ. ๑๒๐,ภปร. ๒๓ เมษายน ๒๕๐๕ และ ปปร. ๒๔๖๙,๒๔๗๑ (จปร. เป็นพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ๕, ปปร. เป็นพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ๗ และ ภปร. เป็นพระ
ปรมาภิไธย ย่อของรัชกาลที่ ๙)
ข) จารึกอักษรค้าว่าธารเสด็จ อยู่บริเวณปลายน้ำตก ด้านหน้าพลับพลาที่ประทับ
ค) จารึกพระปรมาภิไธย ภปร. วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๐๕ และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ รพ.๑๐ เมษายน ๒๕๑๕ (รพ. เป็นพระปรมาภิไธยย่อ ของสมเด็จพระนางเจ้าร้าไพพรรณี พระบรมราชินีใน รัชกาลที่ ๗)
ง) จารึกพระปรม าภิไ ธ ย ย่ อ จป ร . ๑๐๘ มี จ า รึ กปี จุ ลศัก ร า ช ๑๒๐๕,๑๒๕๑,๑๒๕๒,๑๒๕๘, ๑๒๖๐,๑๒๖๑ ๑๒๖๒,๑๒๖๓,๑๒๖๗,๑๒๗๑ บนก้อนหินก้อนเดียวกันแต่คนละด้าน ด้านหลังของก้อนหินนี มีพระปรมาภิไธยย่อ ๑๓๐ วปร. (พระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ๖) ด้านตรงข้ามล้าธารมีหินอีกหนึ่งก้อนที่สลักพระปรมาภิไธยย่อ
ปปร.รพ. ๒๔๖๙ ไว้ด้วย
จ) จารึก จปร. อยู่ห่างจากจารึกจุลศักราช ขึ ไปทางต้นน ้าประมาณ ๒ กิโลเมตรเศษ
ชาวบ้านใต้เรียกท้องชะนาง พบไร่ พริก มะเขือ กล้วย จึงได้จารึกอักษร จปร.บรรทัดล่างจารึกว่า ต่อไปมีไร่
๒) น้ำตกธารประพาส มีความยาวประมาณ ๑.๕๐ กิโลเมตร ปลายน้ำไหลลงทะเลที่อ่าวธารประพาส เป็น
น้ำตกขนาดเล็ก มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ และจารึกตัวอักษรมี ๒ จุด คือ จารึกอักษรค้าว่า ธารประพาส อยู่ บริเวณปลายน ้าตก ปัจจุบันตัวอักษรถูกเซาะจนเลือนออกหมดแล้ว เพราะอยู่ในบริเวณ ทางน้ำไหลผ่าน จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ๑๐๘ อยู่บริเวณต้นน้ำธานประพาส ห่างจากจารึกที่ปลายน้ำประมาณ ๑ กิโลเมตร
๓) น้ำตกธารประเวศ มีความยาวประมาณ ๓ กิโลเมเมตร ปลายน ้าไหลลงทะเลด้านทิศตะวันออกที่อ่าว
ท้องนายปาน (น้อย) อยู่ทางด้านทิศเหนือของน้ำตกธารเสด็จ ห่างกันประมาณ ๓ กิโลเมตร มีจารึกพระปรมาภิไธย ย่อและจารึกตัวอักษร อยู่ ๒ จุด จารึกอักษรค้าว่า ธารประเวศ อยู่บริเวณปลายน้ำตกบนก้อนหินใหญ่ข้างภูเขาสูงชัน ปัจจุบันคำว่าธารค่อนข้างจะลบเลือน
ส่วนการเสด็จหัวเมืองทางภาคใต้นั้น ผมเคยดูจากสารคดีตามรอยเสด็จพุทธเจ้าหลวงหรือที่เรียกกันว่า การเสด็จประพาสต้น ก็มีส่วนที่ผู้จัด ได้นำเอาเรื่องราวครั้งที่พระองค์เสด็จประพาสหัวเมืองทางปักษ์ใต้มาให้ชมกันด้วย
ซึ่งผมจำเรื่องราวในครั้งนั้นได้
เกี่ยวกับการที่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรซึ่ง ทำอาชีพหลากหลายไม่ว่าจะเป็นอาชีพทางประมง หรือแม้แต่การเก็บรังนกนางแอ่น ซึ่งมีสัมปทานมาตั้งแต่ ในยุคสมัยของพระองค์แล้ว มาจนกระทั่งถึงสวนมะพร้าว ซึ่งมีอยู่มากมายบนเกาะสมุย
ในสารคดีบอกว่ามะพร้าว น้ำหอมอย่างดี 100 ลูก ราคาเพียง 1 บาทเท่านั้น ฟังแล้วให้เห็นถึง ค่าเงินซึ่งแตกต่างกับสมัยนี้ อย่างมากทีเดียว
ครับสำหรับวันนี้เป็นเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ในส่วนของการเสด็จประพาสหัวเมืองทางปักษ์ใต้ ซึ่งผมจะได้นำกลับมาเล่าให้ฟังกันใหม่ในโอกาสหน้า สำหรับวันนี้ขอให้ทุกท่านที่ได้อ่านบทความมีแต่ความสุขสุขภาพแข็งแรงและเราพบกันใหม่ในครั้งหน้านะครับ สวัสดีครับ